วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Future Tense

     
     Future Tense คือ รูปแบบของคำกริยาที่แสดงถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกาล แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่


     รูปแบบของ Future Tense                               โครงสร้างของ Future Tense


     1. Future Simple                                     Subject + will, shall + Verb 1  
     2. Future Continuous                               Subject + will, shall + be + Verb (ing)  
     3. Future Perfect                                     Subject + will, shall + have + Verb 3
     4. Future Perfect Continuous                    Subject + will, shall + have + been + Verb (ing)


     Future Simple Tense  (โครงสร้าง Subject + will, shall + Verb 1)     
     โดยที่ใช้ shall กับบุรุษที่ 1 ได้แก่ I, We และใช้ will กับบุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 รวมถึงกับคำนาม ได้แก่ You, he, she, it, they, James, Mary เป็นต้น มีวิธีการใช้ดังนี้


     1. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมักมีคำกริยาวิเศษณ์ที่แสดงเวลาที่เป็นอนาคตประกอบอยู๋ในประโยคด้วย คำกริยาวิเศษณ์เหล่านั้น เช่น
     soon (ในไม่ช้านี้)             tomorrow (พรุ่งนี้)          next week (สัปดาห์หน้า)
     next month (เดือนหน้า)    next year (ปีหน้า)         in a moment (อีกสักครู่)
ตัวอย่างประโยค
     I shall go to school tomorrow.  (ฉันจะไปโรงเรียนในวันพรุ่งนี้)
     The train will arrive at the station in a few minutes.  (รถไฟจะมาถึงที่สถานีในอีกไม่กี่นาทีนี้แล้ว)


     2. ใช้ในประโยคที่มีกริยา 2 ตัว โดยใช้ Future Simple Tense กับกริยาที่อยู่หน้าคำเชื่อม และใช้ Present Perfect Tense หรือ Present Simple Tense กับกริยาที่อยู่หลังคำเชื่อม คำเชื่อมที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ If (ถ้า), unless (เว้นเสียแต่ว่า), when (เมื่อ), until (จนกระทั่ง), as soon as (ทันทีทันใด), before (ก่อนที่), after (หลังจาก) เป็นต้น
ตัวอย่างประโยค
       I shall go to the beach after I have finished my work.  (ฉันจะไปชายหาด หลังจากที่ได้ทำงานเสร็จแล้ว)
      They will travel round the world when they win the lottery.  (พวกเขาจะท่องเที่ยวไปรอบโลกถ้าหากพวกเขาถูกล็อตเตอรี่)


      " to be going to" เราสามารถใช้ to be going to แทน will, shall ได้ในกรณีต่อไปนี้


ใช้ to be going to + Verb 1                                                                                               กรณีที่สามารถใช้ to be going to + Verb 1
      
      1. ใช้เพื่อแสดงความตั้งใจ  
       I am going to do my homework this evening.  (ฉัน (ตั้งใจว่า) จะทำการบ้านตอนเย็นนี้)


      2. ใช้เพื่อแสดงการคาดคะเน
      My father thinks it's going to rain.  (พ่อของฉันคิดว่าฝนคงจะตก)


      3. ใช้เพื่อแสดงข้อความที่คาดว่าเป็นจริงแน่นอน
       I am going to have a baby.  (ฉันกำลังจะมีลูก)


กรณีที่เราไม่สามารถใช้ to be going to + Verb 1 แทน will, shall ได้ มีดังนี้


       1. เหตุการณ์ที่จะต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างเลี่ยงไม่ได้
        To be is the 7 th and tomorrow will be the 8 th.  (วันนี้เป็นวันที่ 7 และพรุ่งนี้เป็นวันที่ 8)


       2. ในประโยคเงื่อนไขที่ใช้ if เป็นตัวเชื่อม
        We shall play football if you come with us.  (พวกเราจะเล่นฟุตบอลกันถ้าคุณมากับเรา)  


       3. เมื่อเป็นกริยาที่แสดงการรับรู้ เช่น know (รู้), love (รัก), remember (จำได้), forget (ลืม) เป็นต้น
        I will (shall) not forget your words.  (ฉันจะไม่ลืมถ้อยคำของคุณ)     

การใช้ will, shall สลับบุรุษกัน                
         โดยปกติเราจะต้องใช้บุรุษที่ 1 ได้แก่ I, We กับ shall และบุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 ได้แก่ You, He, She, It, และคำนามกับ will แต่เมื่อนำ shall มาใช้กับบุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 จะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ดังนี้


shall กับบุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3
       1. ความหมายในเชิงให้คำสัญญา
เช่น If you help me do it you shall get a reward.  (ถ้าคุณช่วยฉันทำสิ่งนี้ คุณจะได้รางวัล)


       2. ความหมายในเชิงบังคับ
เช่น You shall be punished if you don't follow his advices.  (คุณจะถูกทำโทษถ้าคุณไม่ทำตามคำแนะนำของเขา) 


       3. ความหมายในเชิงแสดงความแน่วแน่ของการตัดสินใจ
เช่น She shall pass the examination, if she doesn't cut my class.  (หล่อนจะสอบผ่านถ้าหล่อนไม่ขาดเรียน (วิชาของผม)


เมื่อนำ will มาใช้กับบุรุษที่ 1 จะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ดังนี้
will กับบุรุษที่ 1


       1. ให้ความหมายในเชิงแสดงความตั้งใจจริงของผู้พูด
เช่น I will finish my work this evening.  (ฉันจะทำงานให้เสร็จในเย็นนี้)


       2. ให้ความหมายในเชิงให้คำสัญญา
เช่น I will love you forever.  (ฉันจะรักคุณตลอดไป)


       Future Continuous Tense  (โครงสร้าง Subject + will, shall + be + Verb (ing)
มีวิธีการใช้ดังนี้


       1. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำ 2 อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนจะใช้ Future Continuous Tense ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่งที่จะเกิดทีหลัง ให้ใช้ Present Simple Tense
เช่น He will be sleeping when I go to his house this evening.  (เขาจะกำลังนอนหลับอยู่ เมื่อฉันไปถึงบ้านของเขาในเย็นนี้)


       2.  ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเวลาระบุไว้ชัดเจน
เช่น At nine o'clock tomorrow, they will be studying at school.  (เวลา 9 นาฬิกาของวันพรุ่งนี้ พวกเขาคงจะกำลังเรียนกันอยู่ที่โรงเรียน)


       Future Perfect Tense  (โครงสร้าง Subject + will, shall + have + Verb 3)
มีวิธีการใช้ดังนี้


       1. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต โดยเป็นเพียงการคาดการณ์ว่าหากถึงตอนนั้นแล้วเหตุการณ์ หรือการกระทำอันหนึ่งจะได้เกิดขึ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วจึงมีอีกเหตุการณ์ที่ 2 เกิดขึ้นตามมา
เช่น He will have received my letter when I arrive at work.  (เขาคงจะได้รับจดหมายของฉันแล้ว เมื่อฉันไปถึงที่ทำงาน)


       2. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่จะเกิดขึ้นและสมบูรณ์ในอนาคต มักมีคำหรือกลุ่มคำบอกเวลาความเป็นอนาคตกำกับไว้ด้วย และนำหน้าด้วยบุพบท by เสมอ
เช่น I shall have woken up by breakfast time.  (ฉันคงจะตื่นแล้วก่อนจะถึงเวลาอาหารเช้า)


      Future Perfect Continuous Tense  (โครงสร้าง Subject + will, shall + have + been + Verb (ing)
       
      มีวิธีการใช้ที่ไม่แตกต่างจาก Future Perfect Tense แต่ Future Perfect Continuous Tense นี้ จะให้ความหมายเน้นไปที่ความต่อเนื่องของเหตุการณ์ หรือการกระทำและเมื่อถึงเวลานั้นก็ยังคงดำเนินอยู่ และจะดำเนินต่อไป
เช่น By the next week I shall have been living here for two years.  (เมื่อถึงสัปดาห์หน้า ฉันจะได้อยู่ที่นี่ (ติดต่อกันมา) แล้วเป็นเวลาครบ 2 ปี)
       
เมื่อเทียบกับ Future Perfect Tense
       By next week I shall have lived here for two years.  (เมื่อถึงสัปดาห์หน้า ฉันจะได้อยู่ที่นี่เป็นเวลาครบ 2 ปี)


       จะเห็นว่าประโยคทั้งสองให้ความหมายไม่ต่างกันมากนัก เพียงแต่ว่าประโยคแรกที่ใช้ Future Perfect Continuous Tense นั้นเน้นความต่อเนื่องของการกระทำมากกว่าอีกประโยคหนึ่ง




Past Tense

     
     Past Tense คือ รูปแบบของคำกริยาที่แสดงถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

     รูปแบบของ Past Tense                                   โครงสร้างของ Past Tense
     
     1. Past Simple                                            Subject + Verb 2 หรือ Verb เติม ed
     2. Past Continuous                                      Subject + was, were + Verb (ing)
     3. Past Perfect                                            Subject + had + Verb 3
     4. Past Perfect Continuous                           Subject + had + been + Verb (ing)


     Past Simple Tense  (โครงสร้าง Subject + Verb 2 หรือ Verb เติม ed)
มีวิธีการใช้ดังนี้
     ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำมากำกับ แสดงความเป็นอดีตในประโยคด้วย คำหรือกลุ่มคำเหล่านี้
     เช่น ago (แต่ก่อน)     once (ครั้งหนึ่งในอดีต)     yesterday (เมื่อวานนี้)
           last night (เมื่อคืนก่อน)     last month (เมื่อเดือนที่แล้ว)
           when he was young (เมื่อตอนที่เขายังเป็นเด็ก)
           after they had gone (หลังจากที่พวกเขาไปแล้ว)
     ตัวอย่างประโยค
           I went to church yesterday.  (ฉันไปโบสถ์เมื่อวานนี้)
           She bought that car last year.  (หล่อนซื้อรถคันนั้นเมื่อปีที่แล้ว)


     Past Continuous Tense  (โครงสร้าง Subject + was, were + Verb (ing)
มีวิธีการใช้ดังนี้
     1. ใช้ร่วมกับ Past Simple Tense เมื่อมีเหตุการณ์ หรือการกระทำ 2 อย่างเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต โดยให้ใช้ Past Simple Tense กับเหตุการณ์สั้นๆ ที่เกิดขึ้นทีหลัง และใช้ Past Continuous Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนและกำลังดำเนินอยู่ในขณะนั้น
     เช่น While I was watching the football match, I had a headache.  (ขณะที่ฉันกำลังดูการแข่งขันฟุตบอลอยู่นั้น ฉันก็ปวดศีรษะ)


     2. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำ 2 อย่างที่กำลังดำเนินอยู๋ในอดีตในเวลาเดียวกัน
     เช่น We were playing while they are studying.  (พวกเรากำลังเล่นกัน ขณะที่พวกเขากำลังเรียน )
     Past Perfect Tense  (โครงสร้าง Subject + had + Verb 3)
มีวิธีการใช้ดังนี้
     1. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำ 2 อย่างที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงในอดีต โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนให้ใช้ Past Perfect Tense ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทีหลังให้ใช้ Past Simple Tense
     เช่น I went to work after I had eaten breakfast.  (ฉันไปทำงานหลังจากที่ได้ทานอาหารเช้า) 
           We had learnt Japanese before we went to Japan.  (พวกเราได้เรียนภาษาญี่ปุ่นก่อนที่พวกเราจะไปประเทศญี่ปุ่น)


     2. ใช้กับการแสดงความปรารถนาในสิ่งที่ไม่เป็นจริงที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต
     เช่น We wish we had passed the examination.  (พวกเราอยากให้พวกเราได้สอบผ่าน (ซึ่งในความเป็นจริงพวกเราสอบไม่ผ่าน)
     Past Perfect Continuous Tense  (โครงสร้าง Subject + had + been + Verb (ing)
มีวิธีการใช้ที่ไม่แตกต่างจาก Past Perfect Tense แต่มีจุดต่างกันตรงที่ Past Perfect Continuous Tense จะเน้นความต่อเนื่องของเหตุการณ์ หรือการกระทำได้ดีกว่า Past Perfect Tense
     เช่น I had been sleeping for two hours when he came in.  (ฉันได้นอนหลับต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2 ชั่วโมงแล้ว เมื่อตอนที่เขาเข้ามา)


วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Present Tense

     


     Tenses หมายถึง กาล หรือเวลา ซึ่งก็คือรูปแบบของกริยาที่แสดงเหตุการณ์ หรือการกระทำต่างๆ ว่าเกิดขึ้นในปัจจุบัน ในอดีต หรือในอนาคต แบ่ง Tenses ออกเป็น 3 จำพวกใหญ่ๆ ได้แก่
     1. Present Tense  ปัจจุบันกาล
     2. Past Tense  อดีตกาล
     3. Future Tense  อนาคตกาล
Present Tense
     Present Tense คือ รูปแบบของคำกริยาที่แสดงถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในกาลปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

     รูปแบบของ  Present Tense                                    โครงสร้างของ  Present Tense

     1. Present Simple                                             Subject + Verb 1
     2. Present Continuous                                       Subject + is, am, are + Verb (ing)
     3. Present Perfect                                             Subject + have, has + Verb 3
     4. Present Perfect Continuous                            Subject + have, has + been + Verb (ing)

     Present Simple Tense  (โครงสร้าง Subject + Verb 1)
     1. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เป็นจิงเสมอไป หรือเป็นเรื่องจริงของธรรมชาติ
     เช่น It's hot in summer.  มันร้อนในฤดูร้อน 
           The sun rises in the east.  ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก


     2. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นจริงในขณะที่พูด ไม่ว่าก่อนหน้าที่พูดหรือหลังจากพูดจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ ที่สำคัญคือต้องเป็นจริงในขณะที่พูดก็พอ
     เช่น I have a pen in my purse.  ฉันมีปากกาหนึ่งด้ามในกระเป๋าของฉัน (ประโยคข้างต้นนั้นเป็นจริงในขณะที่พูด คือในขณะนั้นฉันมีปากกาอยู่หนึ่งด้ามในกระเป๋าจริงๆ)


     3. ใช้กับกริยาที่ไม่แสดงลักษณะอาการที่สังเกตเห็นได้ แต่เป็นกริยาที่เกี่ยวกับความนึกคิดหรือจิตใจ
     เช่น I love him so much.  ฉันรักเขามาก
           This car belongs to him.  รถคันนี้เป็นของเขา


     4. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นประจำ หรือเป็นนิสัย โดยในกรณีนี้มักใช้ร่วมกับคำหรือกลุ่มคำที่แสดงความถี่ในประโยค
       คำที่แสดงความถี่ ยกตัวอย่างเช่น
             always  เสมอ                                                    often  บ่อยๆ
             sometimes  บางครั้ง                                           frequently  บ่อยๆ
             usually  เป็นปกติ                                                naturally  โดยธรรมชาติ
             generally  โดยทั่วไป                                           rarely  ไม่บ่อย
             seldom  นานๆ ครั้ง                                             once a week  หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์         
             everyday  ทุกๆ วัน                                              twice a year  สองครั้งต่อปี
             every week  ทุกสัปดาห์                                       on Saturdays  ทุกๆ วันเสาร์ เป็นต้น
ตัวอย่างประโยค
       I always get up early.  ฉันตื่นนอนเช้าเสมอ
       We play football everyday.  พวกเราเล่นฟุตบอลทุกวัน
      Present Continuous Tense  (โครงสร้าง Subject + is, am, are + Verb(ing)
มีวิธีการใช้แบ่งออกได้ดังนี้
      1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่กำลังเกิดขึ้น หรือกำลังกระทำในขณะที่พูด ในกรณีนี้มักจะมีกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ร่วมอยู่ในประโยคด้วย
      เช่น My mother is cooking in the kitchen now.  แม่ของฉันกำลังทำอาหารอยู่ในตอนนี้


      2. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนานพอสมควร โดยมักจะมีคำที่บ่งบอกระยะเวลาอยู่ในประโยคด้วย
      เช่น She is learning English this month.  หล่อนกำลังเรียนภาษาอังกฤษในเดือนนี้


      3. ใช้เพื่อบอกถึงเหตุการณ์ หรือการกระทำที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือเป็นอนาคตอันใกล้ที่ค่อนข้างแน่นอน และมักมีคำบอกเวลาอยู่ในประโยคด้วย
      เช่น We are going to Koh Chang next week.  พวกเราจะไปเกาะช้างกันในสัปดาห์หน้า


      ข้อสังเกต เมื่อในประโยค 2 ประโยคถูกเชื่อมไว้ด้วยกันเป็นประโยคเดียวโดยที่มีประธานตัวเดียวกันนั้น ไม่ต้องใส่กริยาช่วยในประโยคที่ 2
      เช่น I am doing my homework and listening to the radio.  ฉันกำลังทำการบ้านและฟังวิทยุ
      (ไม่ใช่ I am doing my homework and am listening to the radio เพราะมี I เป็นประธานตัวเดียวกันของกริยาทั้ง doing และ listening จึงไม่ต้องมี am หลัง and อีก)


      Present Perfect Tense  (โครงสร้าง Subject + have, had + Verb 3)
มีวิธีการใช้ดังนี้
      1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เริ่มเกิดขึ้นในอดีต และยังคงดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันในขณะที่พูด
      เช่น I have lived here since 2000  (ฉันได้อาศัยอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 และในตอนนี้ก็ยังคงอาศัยอยู่)


      2. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นหลายครั้งในอดีต และอาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตโดยไม่ได้บอกว่าเกิดขึ้นเมื่อไร แต่มักมีคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่บอกความถี่ประกอบอยู่ในประโยคด้วยเสมอ
      เช่น She has driven to that beach several times.  (หล่อนขับรถไปที่ชายหาดแห่งนั้นหลายครั้ง)


      3. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เคยหรือไม่เคยทำในอดีต โดยมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เหล่านี้ประกอบอยู่ในประโยคด้วย ได้แก่ ever (เคย), never (ไม่เคย), once (ครั้งหนึ่ง), twice (สองครั้ง) เป็นต้น
      เช่น I have never been to London before.  (ฉันยังไม่เคยไปลอนดอนมาก่อน)


      4. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต และส่งผลมาถึงปัจจุบันหรือในขณะที่พูดอยู่
      เช่น He has turned on the light.  (เขาได้เปิดไฟไว้แล้ว)


      5. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เพิ่งจบลงไปไม่นาน โดยมักจะมีกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เหล่านี้มาประกอบอยู่ในประโยคด้วย ได้แก่ just (เพิ่งจะ), yet (ยัง), finally (ในที่สุด), eventually (ในที่สุด), recently (เมื่อเร็วๆ นี้) เป็นต้น
      เช่น We have already had dinner.  พวกเราทานอาหารเย็นเรียบร้อยแล้ว


      Present Perfect Continuous Tense  (โครงสร้าง Subject + have, has + been + Verb (ing)
มีวิธีการใช้ดังนี้
      1. ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันและดำเนินต่อไปในอนาคต
      เช่น I have been driving for an hour.  (ผมได้ขับรถมาเป็นเวลา 1 ชั่วโมงและยังขับต่อไปอยู่)


      ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่าง Present Perfect Tense กับ Present Perfect Continuous Tense ต่างกันตรงที่ Present Perfect Tense นั้นเป็นเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน หรือในขณะที่พูดแต่ไม่แน่ว่าจะดำเนินต่อไปในอนาคตหรือไม่ ส่วน Present Perfect Continuous Tense เป็นเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญคือ ยังดำเนินต่อไปในอนาคตด้วย
                          

Part of Speech

     


    Part of Speech คือ คำภาษาอังกฤษที่เราใช้พูดหรือเขียนทุกคำในแต่ละประโยคล้วนถือเป็น Part of Speech หรือเป็น "ส่วนของคำพูด" ทั้งสิ้น
    คำแต่ละคำ Part of Speech แบ่งออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้


     1. Noun  คำนาม  ชื่อที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คุณสมบัติหรือคุณค่าต่างๆ เช่น
         ชื่อคน  : John, Areeya  เป็นต้น
         สัตว์  : Dog, Cat, Elephant  เป็นต้น
         สิ่งของ  : Pen, Car, Book  เป็นต้น
         สถานที่  : School, Hospital  เป็นต้น
         คุณสมบัติหรือคุณค่า  : Gratitude, Honesty  เป็นต้น


     2. Pronoun  คำสรรพนาม  คำที่ใช้เรียกแทนคำนาม เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเรียกชื่อนั้นซ้ำไปซ้ำมาทำให้ฟังแล้วไม่ต่อเนื่อง เราจึงจำเป็นต้องใช้คำสรรพนามในการเรียกแทนคำนามเหล่านั้น
         คำสรรพนาม เช่น I, You, We ,They, He, She, It เป็นต้น


     3. Verb  คำกริยา  คำหรือกลุ่มคำ แสดงให้เรารู้ว่าประธานทำอะไร หรือทำให้เรารู้การแสดงออกของประธาน
         เช่น Is, have, are, read, wash เป็นต้น


     4. Adverb  คำกริยาวิเศษณ์  คำที่ขยายกริยา จะช่วยบอกให้เรารู้ว่าประธานได้แสดงกริยานั้นอย่างไร ในขณะที่คำกริยาบอกให้เรารู้ถึงการแสดงออกของประธาน แต่คำกริยาวิเศษณ์ช่วยให้เราเห็นภาพของการแสดงออกนั้นว่าเป็นอย่างไรได้ชัดเจนขึ้น
         เช่น gently (อ่อนโยน), rudely (หยาบคาย) เป็นต้น


     5. Adjective  คำคุณศัพท์  คำที่ช่วยขยายคำนาม หรือสรรพนามให้เราได้เห็นภาพ หรือคุณสมบัติของคำนามนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
         เช่น pretty (สวยน่ารัก), mean (ใจแคบ) เป็นต้น


     6. Preposition  คำบุพบท  คำที่ใช้เชื่อมคำนามและคำสรรพนาม กับคำอื่นในประโยคเพื่อช่วยให้ความหมายของประโยคสมบูรณ์และสละสลวยขึ้น
         เช่น is, on, in, to, from, by เป็นต้น


     7. Conjunction  คำสันธาน  คำที่ใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคเข้าด้วยกัน
         เช่น and, or, but, while, however เป็นต้น


     8. Interjection  คำอุทาน  คำอุทานอาจเป็นคำๆ เดียวหรือเป็นประโยคก็ได้ ใช้เมื่อเราอุทานหรือพูดออกมา เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกของเราในขณะนั้น
         เช่น Oh! (โอ้), Wow! (ว้าว) เป็นต้น


อ้างอิง : คู่มือเก่งอังกฤษ พิชิตไวยากรณ์